top of page

BRIGHTNESS AND THE DARKNESS

ขาวและดำ กลางวันกลางคืน ร้อนเย็น สูงต่ำ มืดสว่าง ก้าวร้าวอ่อนโยน ฯลฯ เมื่อมารวมกันแล้วจึงเกิดความสมดุลย์ หากเปรียบกับจิตใจของมนุษย์ปราศจากความสมดุลย์แล้ว ความงามในหัวใจจะสามารถงอกเงยได้ฉันใด ดนตรีที่ถูกถ่ายทอดผ่านทักษะดนตรีของผู้แสดงตลอดจนการให้ความหมาย (interpretation) ในบทเพลงนั้น ๆ จะแสดงให้เห็นความสมดุลย์ได้อย่างไรเล่า?​

หากหยินเป็นตัวแทนของความมืด และหยางแทนถึงความสว่างแล้ว ดนตรีระดับเสียงสูงต่ำ ความดังเบา ลักษณะของการบรรเลง ฯลฯ​ จะส่งผลถึงผู้ฟังได้มีความเข้าใจในเสียงดนตรีที่ได้ยินนั้น ๆ จากการให้ความหมายของผู้บรรเลงที่ถ่ายทอดผ่านความสมดุลย์

แรงบันดาลใจที่ทำ concept ในครั้งนี้  เริ่มจากที่ตัวผมเองนั้น  มีความสนใจที่อยากจะนำเสนอการเล่นดนตรี ให้มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งเร้ารอบตัวของเรา  ในตอนแรกผมหยิบเรื่อง แสงสว่าง และความมืด มาลองเชื่อมโยงกัน ซึ่งทั้ง 2 เรื่องนี้เป็นเรื่องมนุษย์ทุกๆคนนั้นสามารถสัมผัสได้  พอศึกษาไปสักพัก ผมจึงพบว่า สามารถที่จะนำเรื่อง หยิน และหยาง เข้ามาเป็นแนวคิด โดยถ่ายทอด และตีความผ่านเรื่องของ แสงสว่างและความมืด ผมจึงได้เริ่มโปรเจคนี้ขึ้นมา

หลังจากที่ได้ทำงานโปรเจคนี้ ผมจึงคิดว่า โลกของเรานั้นก็มักจะมีด้านที่ตรงข้ามกัน อย่างเช่น มีพระจันทร์ ก็ต้องมีพระอาทิตย์  มีคนรวยก็ต้องมี คนจน  ซีงถ้าเกิดว่า มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มากเกินไป ย่อมเกิดผลเสีย  และแนวคิดของหยินหยางก็สามารถสอดแทรกเข้ามาอยู่ในดนตรีได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น ในดนตรีนั้นก็ย่อมมีทั้งเสียงดัง และเสียงเบา  มีทั้งไพเราะ และ ดุดัน ถ้าสมมติว่าใน เพลงนั้นมีแต่ทำนองที่เบาไม่มีดังเลย ก็อาจจะไม่ได้ยินทำนองที่สำคัญ ถ้ามีแต่เสียงดังไปบางทีก็อาจจะน่ารำคาญไปบางที ทุกอย่างเลยต้องมีทั้ง2ด้าน เพื่อที่จะให้เกิดความสมดุลกัน

bottom of page